วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ม่อนไข่ หรือ เซียนท้อ

ม่อนไข่ หรือ เซียนท้อ 7 สรรพคุณและประโยชน์ของม่อนไข่ ! (เซียนท้อ) เผยแพร่: 9/01/2014 (ปรับปรุง: 2/03/2016) ผลไม้, สมุนไพร advertisements สารบัญ [แสดง] ม่อนไข่ ม่อนไข่ ชื่อสามัญ Canistel, Egg Fruit, Tiesa, Yellow Sapote, Canistelsapote, Chesa (ฟิลิปปินส์), Laulu Lavulu หรือ Lawalu (ศรีลังกา) ม่อนไข่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pouteria campechiana (Kunth) Baehni (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lucuma campechiana Kunth) จัดอยู่ในวงศ์พิกุล (SAPOTACEAE) สมุนไพรม่อนไข่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลูกท้อพื้นบ้าน (ราชบุรี), ท้อเขมร (ปราจีนบุรี), ทิสซา (เพชรบูรณ์)[3],[4], เซียนท้อ เขมา ละมุดเขมร ละมุดสวรรค์ หมากป่วน โตมา (กรุงเทพฯ)[6] ลักษณะของต้นม่อนไข่ ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาว ๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล[1],[2] ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ (ประเทศเบลีซ, กัวเตมาลา, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส, ปานามา, นิการากัว)[3] ใบม่อนไข่ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 11.25-28 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ใบเป็นมันและบาง[1],[5] ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีม และมีกลิ่นหอม[1] ผลม่อนไข่ ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน เปลือกผลบาง เนื้อในผลเป็นสีเหลืองสดน่ารับประทาน เนื้อมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแป้งทำขนม เนื้อนิ่มคล้ายกับไข่แดง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Eggfruit) ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ และมีลักษณะเป็นรูปรีสีดำ รสหวาน[1] สรรพคุณของม่อนไข่ เปลือกของต้นม่อนไข่ ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ตัวร้อน (เปลือกต้น)[1] ผลสุกใช้รับประทานมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)[1] เมล็ดใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย (เมล็ด)[1] ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)[1] advertisements ประโยชน์ของม่อนไข่ ผลม่อนไข่นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด เห็นว่าอร่อยนัก ชาวฟลอริดานิยมรับประทานร่วมกับเกลือ พริกไทย มายองเนสหรือน้ำมะนาว[1] นอกจาจากผลจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมได้อีก เช่น แพนเค้ก แยม คัสตาร์ด ทาร์ต ใช้อบให้สุก หรือนำมาใช้ผสมกับนมหรือโยเกิร์ต เป็นต้น[1],[2] เนื้อไม้ของต้นม่อนไข่ มีความละเอียดและแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้กระดาน หรือใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ได้[5] คุณค่าทางโภชนาการของม่อนไข่ ต่อ 100 กรัม (เฉพาะในส่วนที่กินได้) พลังงาน 138.8 กิโลแคลอรี่ โปรตีน 1.68 กรัม คาร์โบไฮเดรต 36.69 กรัม ไขมัน 0.13 กรัม เส้นใย 0.10 กรัม น้ำ 60.6 กรัม เถ้า 0.90 กรัม แคโรทีน (โปรวิตามินเอ) 0.32 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี3 3.72 มิลลิกรัม วิตามินซี 58.1 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 26.5 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37.3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.92 มิลลิกรัม ทริปโตเฟน 28 มิลลิกรัม เมไธโอนีน 13 มิลลิกรัม ไลซีน 84 มิลลิกรัม แหล่งที่มา : According to analyses made at the Laboratorio FIM de Nutricion in Havana.[5] References หนังสือผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน (นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์). “ม่อนไข่หรือทิสซา“. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “Pouteria campechiana“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: en.wikipedia.org. [9 ม.ค. 2014]. GRIN (Germplasm Resources Information Network) Taxonomy for Plants. “Pouteria campechiana (Kunth) Baehni“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.ars-grin.gov. [9 ม.ค. 2014] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. “ม่อนไข่“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: th.wikipedia.org. [9 ม.ค. 2014]. the New Crop Resource Online Program, Purdue University. “Canistel“. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.hort.purdue.edu. [9 ม.ค. 2014]. ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Ahmad Fuad Morad, Starr Environmental, KeithABradley, alloe., Forest & Kim, sergioniebla, dinesh_valke)

How To วิธีเพาะอะโวคาโดจากเมล็ด

..... อะโวคาโด-อาโวคาโด หรือ ลูกเนย เป็นผลไม้ที่มีเนื้อมันเป็นเนย เป็นต้นไม้พื้นเมืองของรัฐปวยบลาในประเทศเม็กซิโก จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย, กระวาน และเบย์ลอเรล (bay laurel) ผลของอาโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม มิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ต่อจากนั้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ นำอาโวคาโดมาปลูกมากขึ้น *** วิธีเพาะอะโวคาโด 1. ตัดอะโวคาโดอย่างระมัดระวัง เพื่อที่จะไม่ทำรายเมล็ดที่อยู่กลางผล โดยตัดให้รอบด้านจากนั้นบิดสองส่วนในทิศทางที่ตรงข้ามกัน แล้วแคระเอาเมล็ดอะโวคาโดออกมา 2. ทำความสะอาดเมล็ดอโวคาโด โดยล้างน้ำถูเบา ๆ เพื่อเอาเศษเนื้อออกโดยใช้น้ำอุ่น และไม่ใช้สบู่หรือน้ำยาใด ๆ โดยระวังเปลือกครอบเมล็ดที่มีสีน้ำตาลอ่อนอย่าล้างแรงจนหลุดเพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโต 3. นำไม้จิ้มฟันเสียบเข้าไป 4 ด้าน เสียบให้ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อจะไว้เป็นที่ค้ำเวลาเอาไปวางในแก้วน้ำ 4. เติมน้ำใส่แก้วหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าเมล็ดอะโวคาโดเล็กน้อย แต่ต้องไม่ใหญ่กว่าระยะของไม้จิ้มฟันที่เราเสียบเข้าไปในเมล็ดอะโวคาโด (แนะนำให้ใช้แก้วจะดีกว่า) 5. น้ำเมล็ดอะโวคาโด ที่เสียบไม้จิ้มฟันแล้วมาวางในแก้วหรือภาชนะดังภาพ และตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าไม้จิ้มฟันที่เสียบจะไปหลุดออก เป็นอันใช้ได้ 6. ว่างแก้วหรือภาชนะ ให้ได้รับแสงรำไร เพื่อรอให้เมล็ดอะโวคาโดมีรากงอก 7. ควรเปลี่ยนน้ำทุก 1-2 วัน เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำจะไม่มีสิ่งเจือปน ได้แก่ เชื้อรา, แบคทีเรียต่าง ๆ เพื่อไปให้คอยทำลายเมล็ดอะโวคาโดของเรา 8. รอประมาณ 2-3 สัปดาห์ จะสังเกตุได้ว่ารากจะเยอะขึ้น ผิวชั้นนอกของเมล็ดอะโวคาโดที่มีสีน้ำตาลเริ่มแห้ง และเริ่มมีรอยแยก และไม่นานรอยแยกก็ใจใหญ่ขึ้น แต่ไม่ต้องตกใจแสดงว่าเมล็ดอะโวคาโดเริ่มมีการแตกใบแล้ว 9. เมื่อได้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะเห็นใบเมล็ดอะโวคาโด และคอยตั้งใจดูแลให้ดี อย่าให้รากแก้วถูกทำราย ช่วงนี้อะโวคาโดจะเริ่มโตและถ่ายใบ 10. เตรียมดินที่จะเตรียมปลูกอะโวคาโด 11. น้ำดินมาผสมปุ๋ยหมักที่เตรียมไว้ ดิน 2 ส่วน ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน ใบไม้ใบหญ้าผุ ๆ 1 ส่วน (หรือสามารถซื้อดินปลูกสำเร็จก็ได้ตามสะดวก) 12. เมื่อได้ดินปลูกแล้ว ให้เตรียมดินใส่กระถาง แนะนำให้นำหินกรวดใส่ในกระถ่างก่อน เพื่อป้องกันกินไหลออกและช่วยให้ระบายน้ำได้ดี ใส่ดินให้เต็มกระถาง 13. น้ำเมล็ดอะโวคาโดออกจากภาชนะ และนำไม้จิ้มฟันที่เสียบ (ดึงออกอย่างระมัดระวัง) ขึ้นตอนนี้ต้องระวังอย่าให้รากแก้วและรากถูกทำลาย 14. นำเมล็ดอะโวคาโดที่สมบูรณ์ไปปลูกในกระถาง ระวังอย่าให้รากแก้วและรากขาดหรือถูกทำราย แล้วกดดินเบา ๆ รอบ ๆ เมล็ดให้แน่พอประมาณและรดน้ำให้ชุ่ม 15. ดูแลไปสักระยะหนึ่ง พอต้นอะโวคาโดโตแข็งแรงดีพอที่จะสามารถนำไปปลูกต่อในแปลงได้แล้วนำไปปลูก 16. แค่นี้ก็จะได้ต้นอะโวคาโดที่ปลูกจากฝีมือของเราแล้ว *** ฝากแชร์ต่อด้วยนะครับ อ่านต่อ "อะโวคาโด" เพิ่มเติมที่ : http://kasetnana.blogspot.com/2016/06/how-to.html